เชื่อมสายส่งของการไฟฟ้าด้วย ระบบโซล่าเซลล์ ออนกริด ON GRID

ระบบโซล่าเซลล์ ออนกริด (On Grid) ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าระบบนี้ จะมีแผงโซลาร์เซลล์ สำหรับกำเนิดไฟฟ้า จ่ายไฟให้กับอินเวอร์เตอร์ชนิดกริดไท แปลงจากไฟกระแสตรง เป็นไฟกระแสสลับ ต่อกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ร่วมกับระบบไฟจากการไฟฟ้า ข้อดีของระบบนี้คือ ไม่ต้องยุงกับระบบสายภายในบ้านของเรา ใช้ของเดิมได้เลย และไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ ลดการสิ้นเปลือง 2-5 ปี เปลี่ยนแบตเตอรี่ที ไม่คุ้ม ทำให้เราลดค่าไฟที่ใช้ในบ้านเวลาแดดจัดๆ
จุดเด่นของระบบออนกริด บ้านที่ติดตั้งระบบออนกริด จะมีแหล่งจ่ายไฟ 2 ทาง ทางหนึ่งจากการไฟฟ้า และอีกทางหนึ่งจากโซล่าเซลล์ ระบบไฟที่ผลิตได้จากโซล่าเซลล์ จะแปลงไฟโดยอินเวอร์เตอร์ และสามารถต่อไฟร่วมกับ ระบบไฟจากการไฟฟ้าได้ ไม่ต้องทำระบบสลับไฟใดๆทั้งสิ้น สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด โดยไม่ใช้แบตเตอรี่
ตัวอย่างการใช้ไฟฟ้าระบบนี้ เช่น บ้านใครร้อนๆ ตอนกลางวัน เปิดเครื่องปรับอากาศ 3,500 วัตต์ เราติดตั้งระบบ ออนกริดไว้ 4,000 วัตต์/ชั่วโมง เป็นไงครับ ใช้เครื่องปรับอากาศไม่เสียค่าไฟให้การไฟฟ้าเลย
On-grid System ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบออนกริด
ข้อดี สามารถลดค่าไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าฟรี เนื่องจากผลิตไฟฟ้าได้เองในตอนกลางวัน ใช้ไฟฟ้าฟรี ลดค่าไฟฟ้าได้ สำหรับผู้ประกอบการติดตั้งระบบไฟขนาดใหญ่ สามารถขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้ โดยติดต่อการไฟฟ้า จะต้องสมัครและยื่นเอกสาร พร้อมวิศวกรเซ็นต์รับรอง
ข้อเสีย กรณีที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ ถึงแม้ว่าระบบโซล่าเซลล์ยังจ่ายไฟปกติก็ตาม แต่กริดไทน์อินเวอร์เตอร์จะหยุดทำงาน โดยไม่จ่ายไฟเข้าสายส่ง เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า ซึ่งกำลังซ่อมระบบสายไฟฟ้าตามท้องถนน

การใช้งานระบบนี้ จะใช้ในพื้นที่ ที่มีไฟฟ้าเข้าถึงแล้ว ใช้เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางผู้ที่ต้องการติดตั้ง ต้องมีพื้นที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ และรู้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวัน โดยดูจากหน่วยการใช้ไฟฟ้า ที่เสียค่าไฟฟ้าแต่ละเดือน เพื่อออกแบบกำลังการผลิต หาขนาดกริดไทอินเวอร์เตอร์ และจำนวนแผงโซล่าเซลล์

อุปกรณ์สำหรับ On-grid System
เป็นอุปกรณ์เบื้องต้น สำหรับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบเชื่อมต่อสายส่งการไฟฟ้า

กริดไท อินเวอร์เตอร์
แผงโซล่าเซลล์
คอรโทรล เบรคเกอร์ DC, AC Surge Protection
อุปกรณ์ยึดแผงโซล่าเซลล์
อุปกรณ์การเดินสายไฟฟ้า สายไฟ DC PV1-F ข้อต่อสาย MC4

เทคนิคการเลือกขนาดอินเวอร์เตอร์
การเลือกอินเวอร์เตอร์ ที่สำคัญก็คือ ใช้อินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับงาน ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ร้อน ไม่ชื้น อากาศถ่ายเทสะดวก และเลือกขนาดให้เหมาะสม รวมถึงระบบการไฟฟ้า กริดไท อินเวอร์เตอร์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด

ค่าป้องกันกระแสกระชาก (Surge Power) – เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน จะมีค่ากระแสไฟวิ่งมากกว่าปกติ เวลาที่เริ่มเปิดใช้งาน (เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า ตู้เย็น) ดังนั้น การเลือกอินเวอร์เตอร์ จะต้องดูค่าที่ป้องกันกระแสไฟกระชาก (Surge Power) ว่ามีอัตราอยู่ที่เท่าไร ส่วนมากอินเวอร์เตอร์ จะออกแบบมาให้ทนกับ กระแสที่สูงในช่วงเวลาสั้นๆได้

ค่าแรงดันขาเข้า แรงดันขาออก และความถี่ของอินเวอร์เตอร์ – แรงดันขาเข้า (กระแสตรง) ควรเลือกให้สอดคล้องกับ แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ที่ส่งจากแผงโซล่าเซลล์ ผ่านเครื่องควบคุมการชาร์จ และแบตเตอรี่ เช่น ระบบออกแบบไว้ที่ 12 โวลท์ ก็ต้องเลือกแรงดันไฟฟ้า ขาเข้าของอินเวอร์เตอร์ที่ 12 โวลท์ ส่วนเรื่องแรงดันขาออก (กระแสสลับ) ของอินเวอร์เตอร์ จะต้องเลือกให้เข้ากับโหลดไฟฟ้ากระแสสลับ ที่เราจะนำไปต่อด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านในประเทศไทย โดยทั่วไปจะใช้แรงดัน 220-230 โวลท์(V) และความถี่ 50 เฮิร์ต(Hz)

ค่าความร้อน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ของอินเวอร์เตอร์ – โดยทั่วไปแล้ว อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า จะเกิดความร้อนสูง เมื่อมีการทำงานเต็มที่และเป็นเวลานาน อาจจะทำให้อินเวอร์เตอร์หยุดการทำงานได้ ดังนั้น ควรหาอินเวอร์เตอร์ ที่มีระบบระบายความร้อนที่ดี จะทำให้อินเวอร์เตอร์ มีอายุการใช้งานที่ยืนยาวขึ้น

ค่าคลื่นแทรก ในแรงดันไฟฟ้าเอาท์พุต (Total Harmonic Distortion – THD) – ค่านี้จะมีผลทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขดลวด เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้มีความร้อนสูง เมื่อค่า THD สูง โดยทั่วไปแล้วค่า THD ต้องน้อยกว่า 15-20 เปอร์เซนต์

ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Power Factor) – เป็นค่าประสิทธิโดยรวม ของอินเวอร์เตอร์ ในการจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยส่วนใหญ่แล้ว จะเลือกอินเวอร์เตอร์ ที่มีค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ที่มากกว่า 0.7 เพื่อได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด

วิธีการการออกแบบระบบ ติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออนกริด
1. คำนวณปริมาณการใช้งานในตอนกลางวัน กี่ยูนิต (KWh) เพื่อเลือกขนาดอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสม
2. ดูสเป็คอินเวอร์เตอร์ input DC จากแผงโซล่าสูงสุดกี่ KW เพื่อออกแบบแผงโซล่าเซลล์ รวมทั้งดูว่ามีกี่ MPPT เพื่อคำนวณว่าต้องแบ่งแผงเป็นกี่ชุด
3. ดูพื้นที่ติดตั้ง ว่าเป็นหลังคาแบบใด สามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ วางติดกันกี่แผง จำนวนกี่ชุด
4. ดูจุดติดตั้ง อินเวอร์เตอร์ กล่องเบรกเกอร์ และการเชื่อมต่อสายไฟฟ้า ตามความเหมาะสม สวยงาม และปลอดภัย

สรุปติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออนกริด

1.โซล่าเซลล์ระบบ On Grid, Hybrid ต้องขออนุญาตการไฟฟ้า ระบบจำหน่าย Off grid ไม่ต้อง
ขออนุญาต
2. ถ้าไม่ขออนุญาตการไฟฟ้าแล้ว หรือแอบเชื่อมต่อ ทางการไฟฟ้าสามารถดำเนินการคดีฟ้องร้องในภายหลังได้
หากพิสูจน์แล้วว่าการติดตั้งดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาในระบบจำหน่าย กระแสไฟฟ้า (ฟ้องร้องเจ้าของอาคาร,
มิเตอร์หรือผู้อนุญาตให้ติดตั้ง)
3. ถ้าติดตั้งระบบ On grid ไปแล้วสามารถแจ้งการไฟฟ้าได้ ขั้นตอนการดำเนินงานคล้ายๆกัน
4. ถ้าจะขออนุญาตเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า ก็ต้องใช้อินเวอร์เตอร์ที่ผ่านมาตรฐานการไฟฟ้าเท่านั้น
ไม่งั้นทางการไฟฟ้าก็จะไม่อนุญาตให้เชื่อมต่อระบบดังกล่าว
5. หากการไฟฟ้าอนุญาตให้เชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า ถ้ามิเตอร์ที่บ้านเป็นมิเตอร์แบบไม่หมุนกลับทั้งแบบดิจิตอล
หรืออนาล๊อกก็ไม่ ต้องเปลี่ยนมิเตอร์
6. กำลังไฟฟ้าที่เหมาะสมในการติดตั้งควรตรวจเช็คโดยการบันทึกค่ากำลังไฟฟ้าในแต่ ละช่วงเวลา
และนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำ Load Profile เพื่อหาค่าเฉลี่ยหรือ มัธยฐาน (ข้อมูลกระจายผิดปกติ)
ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

About

You may also like...

One thought on “เชื่อมสายส่งของการไฟฟ้าด้วย ระบบโซล่าเซลล์ ออนกริด ON GRID

Your email will not be published. Name and Email fields are required

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.