ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย บ้านใหม่ที่สร้างปี 2020 ทุกหลังต้องติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ !

แคลิฟอร์เนียเพิ่งกลายเป็นรัฐแรก ในสหรัฐอเมริกา ที่บังคับให้บ้านที่สร้างใหม่ทั้งหมด ต้องติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนชั้นดาดฟ้าหรือหลังคาบ้าน หลังสมาชิกคณะกรรมการพลังงานแคลิฟอร์เนียลงมติเอกฉันท์ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2563  โดยมาตรการนี้อาจทำให้เจ้าของบ้านต้องชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอีก 40 ดอลลาร์สหรัฐ แต่อาจจะสามารถลดค่าไฟลงได้เดือนละ 80 ดอลลาร์สหรัฐ

ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

โดยคณะกรรมการกล่าวว่า มาตรการใหม่นี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้พอๆ กับการเอารถออกจากถนน 115,000 คัน และหวังว่ารัฐอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาจะดำเนินมาตรการตามอย่างรัฐแคลิฟอร์เนีย อย่างไรก็ตาม ผู้ต่อต้านแนวคิดนี้กล่าวว่า การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะทำให้ราคาการสร้างบ้านสูงขึ้นอีกราว 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากที่กำลังประสบปัญหาที่อยู่อาศัยและราคาการก่อสร้างที่สูงขึ้นเป็นทุนเดิม

นักวิเคราะห์มองว่าประกาศของแคลิฟอร์เนียนี้จะทำให้แผงโซลาร์ ไม่ได้มีสถานะเป็นตัวเลือกในบ้าน แต่กลายมาเป็นของจำเป็นเทียบเท่ากับระบบท่อแก๊สหรือฮีทเตอร์ ซึ่งดีต่ออุตสาหกรรมผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์โดยรวม  แต่เมื่อต้นปีนี้สหรัฐตั้งกำแพงภาษีนำเข้าแผงโซล่าเซลล์ในอัตราที่สูงมาก แม้ในปี 2020 จะลดเหลืออัตราร้อยละ 15 ก็ตาม แต่ที่ตั้งกำแพงภาษีสูงขนาดนี้ก็น่าจะพอเดาได้ว่าราคาแผงโซล่าเซลล์ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นไม่ถูก ยิ่งโดนลดตัวเลือกไปด้วยกำแพงภาษีแล้ว ก็อาจจะทำให้การแข่งขันทางด้านราคาไม่รุนแรง เพราะผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ของโลก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่จีน อย่างไรก็ตามมีข้อกังวลว่าประกาศนี้จะทำให้ต้นทุนสร้างบ้านในแคลิฟอร์เนียสูงขึ้นไปอีก

 

 

สินค้าโซล่าเซลล์ สหรัฐได้กำหนดภาษีนำเข้าเป็นระยะเวลา 4 ปี คือ จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากการนำเข้าโซล่าเซลล์และชิ้นส่วนในอัตราภาษี 30% ในปีที่ 1 อัตรา 25% ในปีที่ 2 อัตรา 20% ในปีที่ 3 และอัตรา 15% ในปีที่ 4 โดยการนำเข้าโซล่าเซลล์ 2.5 กิกะวัตต์แรก จะได้รับการยกเว้นจากภาษีที่เพิ่มขึ้น

บริษัท San Jose-based เจ้าของยี่ห้อ SunPower กล่าวว่า ความต้องการอุปกรณ์สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ในที่อยู่อาศัยของโลก จะขยายตัวราวร้อยละ 50 ตามรายงานของ bloomberg

อ้างอิง sciencealert.com

About

You may also like...

Your email will not be published. Name and Email fields are required

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.